1. เริ่มจากฝึกปรับสิ่งต่างๆชีวิตประจำวันให้มีภาษาอังกฤษมากขึ้น
เช่น ตั้งค่ามือถือเป็นภาษาอังกฤษ ฟังเพลง ดูหนัง กดเอทีเอ็ม หากูเกิล แชทเป็นภาษาอังกฤษ อะไรที่ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวัน ปรับเป็นภาษาอังกฤษให้มากที่สุด
💡เครื่องมือแนะนำ :
• https://lyricstraining.com (ฝึกภาษาอังกฤษผ่านเนื้อเพลง)
• https://www.ted.com/talks (Entertainment ใช้ Youtube, Language learning แนะนำใช้ Ted)
2. เริ่มสังเกตุคำศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ๆในแต่ละวันมากขึ้น
เชื่อว่าในทุกๆวัน เราเจอคำศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ๆตลอดเวลา ไม่ว่าจะบน Social Media ป้ายโฆษณา ซองแพคเกจจิ้ง เมนูอาหาร เมื่อไหร่ก็ตามที่เจอคำใหม่ อย่าปล่อยทิ้ง ให้หาความหมายแล้วเก็บบันทึกไว้ จากผลสำรวจแล้ว ในหนึ่งวัน คนเราเรียนรู้ศัพท์ใหม่ได้ดีที่สุดประมาณ 5-10 คำ เทคนิคเพิ่มเติมเวลาหาความหมายของคำศัพท์ ควรเริ่มหาผ่านเว็บดิกชันนารีอังกฤษก่อน (แทนที่จะพิมพ์ว่า “Facility แปล” ให้พิมพ์ว่า “Facility meaning” แทน)
💡เครื่องมือแนะนำ :
• https://www.merriam-webster.com/dictionary/ (ดิกชันนารี แต่พิมพ์ตรงๆบน Google ก็ขึ้นมาเหมือนกัน)
3. เริ่มคิดเป็นภาษาอังกฤษ
อาจเริ่มจากเล็กๆน้อยๆ วันละสัก 5-10 ประโยค สิ่งที่คิดในใจอยู่แล้ว ลองเปลี่ยนจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เช่น อาหารจานนี้อร่อยจัง อากาศวันนี้ไม่ร้อนเท่าเมื่อวาน ใช้ Google Translate ช่วยเราคอนเฟิร์มความถูกต้องประโยคที่คิดอีกทีแบบง่ายๆ ตัวแอพมีโหมดที่ฟังแล้วแปลให้เลย พูดภาษาไทยไป มันขึ้นมาเป็นภาษาอังกฤษเลย แล้วบันทึกไว้ครับ ยิ่งเราคิดเป็นภาษาอังกฤษโดยอัตโนมัติมากเท่าไหร่ ความคล่องในการใช้ภาษาอังกฤษก็มากขึ้นเท่านั้นครับ
💡เครื่องมือ : Google Translate (Speaking mode)
4. เริ่มหาหนังสือภาษาอังกฤษดีๆอ่านสนุกสักเล่มอ่าน
ไม่ควรเป็นหนังสือแกรมม่าหรือหนังสือสอบ ควรหาอะไรตามสิ่งที่เราสนใจ เช่น การทำอาหาร รถยนตร์ ดนตรี นิยาย เรื่องสั้น จะเป็นในรูปแบบหนังสือ แมกกาซีน หรือ audiobook ขอให้เราสนใจเรื่องนั้นๆ มีภาพรูปประกอบเยอะๆยิ่งดี ขอให้เป็นอันที่อ่านแล้วไม่เบื่อ หยิบอ่านได้เรื่อยๆ การอ่านช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้อยู่ในความจำระยะยาวและช่วยให้นึกคำศัพท์ง่ายขึ้นจากเนื้อเรื่องของสิ่งที่อ่าน การท่องคำศัพท์ช่วยให้จำได้แค่ระยะสั้นๆ
💡เครื่องมือ :
• https://www.amazon.com/Kindle-eBooks/ (ซื้อหนังสือ ebook pdf อย่างถูกต้อง)
5. เทคนิคการอ่านเพื่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้
• พยายามอ่านทั้งหน้ารวดเดียวจบ พยายามจับประเด็นหลัก ไม่ต้องกังวลคำศัพท์ที่ไม่รู้
• เดาคำศัพท์ที่ไม่รู้จักด้วยสิ่งรอบข้างก่อนที่จะไปค้นความหมาย
• ถ้าหนังสือมี audiobook ด้วย อ่านไปพร้อมๆกับ audio จะช่วยเพิ่มความเชื่อมโยงได้มากขึ้นอีก
• เวลาเช็คความมหาย สามารถใช้ Google Translate โหมดกล้อง ถ่ายทั้งหน้าแล้วลากดูความหมายเลย เพื่อความรวดเร็วแทนที่จะเซิชหาทีละคำ (หลังจากลองอ่านแบบเดาความหมายแล้วนะครับ)
💡เครื่องมือ : Google Translate (Camera Mode)
6. เริ่มแบ่งเวลาให้กับการพัฒนาภาษาทุกวัน
ทุกวันดีที่สุด สัปดาห์ละครั้งน้อยเกินไปและช้าไป สมองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่ทำต่อเนื่อง ในสัปดาห์อาจจะมีสักหนึ่งวันที่ใช้เวลามากหน่อยประมาณ 1 ชั่วโมง วันที่เหลืออาจจะสัก 10-15 นาที พวกแอพอย่าง Duolinguo หรือ แอพเกมฝึกษาอื่นๆ ตอบโจทย์เรื่องการทวนวันละเล็กละน้อยตรงนี้ครับ
💡เครื่องมือ :
• Duolingo
• Rosetta Stone
• Memrise APP
7. เริ่มฝึกเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือเขียนให้มากขึ้น
การเขียนเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเข้าใจในการใช้ภาษามากที่สุด เพราะจะช่วยสองต่อ ทั้งในเรื่องของคำศัพท์ที่ต้องคิด และในเรื่องไวยากรณ์ที่ใช้เพื่อเรียบเรียงประโยคออกมาให้ถูกต้อง เขียนใส่สมุด กระดาษ หรือ พิมพ์ใส่ Note ในมือถือก็ได้ เมื่อพิมพ์มาแล้วก็สามารถเช็คความถูกต้องจาก online grammar checker เพื่อเรียนรู้ในข้อผิดพลาดของเราครับ จุดสำคัญคือ ต้องเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในการเขียนแต่ละครั้งของตัวเองครับ สำหรับใครที่อยากเขียนภาษาอังกฤษให้แม่นยำขึ้น มีข้อผิดพลาดน้อยลง ครูภูมิเองก็มีบทความเรื่อง 5 ข้อพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษที่สามารถแก้ได้ง่ายๆ
💡 เครื่องมือ :
• https://quillbot.com/grammar-check (ไม่ 100%)
• Grammarly APP
8. เริ่มตั้งเป้าหมายที่ต้องไปสอบ
ถึงแม้ไม่มีเหตุผลที่ต้องใช้คะแนนสอบ (หากสะดวก)ก็ควรไปสอบอยู่ดี เพราะการสอบเป็นการกำหนดเป้าหมายกการเรียนที่ชัดเจนว่าจะต้องพัฒนาไปทางไหน ช่วยวัดระดับความเข้าใจและความสามารถทางภาษาของเราได้เป็นอย่างดี และผลสอบสามารถนำมาประเมินตนเองได้ ช่วยบอกได้ว่าจุดอ่อนจุดแข็งของเราคือตรงไหนส่วนไหน ไม่ว่าจะเป็น CUTEP TUGET SAT TOEIC IELTS TOEFL (หรือ HSK สำหรับภาษาจีน / CEFR สำหรับภาษาเยอรมัน) และอื่นๆ อย่างน้อยลองทำแบบ Online Mock Test ก็ได้ครับ ช่วงที่ผมพัฒนาภาษา ผมสอบบ่อยมาก และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจ English Grammar แบบลึกซึ้ง
💡เครื่องมือ : Toeickiller by KruPoom (อันนี้โฆษณาครับ 555)
🙌🏻เพิ่มเติม : เริ่มโฟกัสที่ Pronunciation มากกว่า Accent
ในเรื่องการออกเสียง การออกเสียงให้ถูกต้อง (ตัวอักษร สระ การเน้นน้ำหนัก โทน) สำคัญกว่า สำเนียงมากครับ อย่าลืมว่าในภาษาอังกฤษนั้น หลายคำออกเสียงไม่ต้องกับคำที่เขียน (เช่น Hour ไม่ออกเสียงตัว H , Debt ไม่ออกเสียงตัว b) สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักเวลาเรียนคำศัพท์ คือ ดูเรื่อง pronunciation / phonetics ด้วย โดยส่วนมากแล้วเว็บดิกชันนารีทั้งหลายจะมีเขียนวิธีอ่านไว้ให้ด้านล่างของคำครับ (เช่น Photographer ก็จะเขียนกำกับไว้ว่า pho-tog-ar-pher นั่นคืออ่านว่า เฟอ-ท็อก-อะ-เฟอ ไม่ใช่ โฟโตกร้าฟเฟ่อ อย่างที่เขียนไว้)
เป็นกำลังใจให้ทุกคนในการฝึกภาษาครับ ไม่ต้องห่วงว่าเราจะฝึกด้วยตัวเองได้ไหม ทำได้แน่นอนครับ ขอให้ตั้งใจ สู้สู้ครับ
– ครูภูมิ Kru Poom
#TOEIC #TOEIC2022 #TOEIC2023 #toeickrupoom #โทอิค #โทอิคครูภูมิ